แนะนำวิทยาลัยฯ

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มีถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๖ นับจนถึงปัจจุบัน เปิดดำเนินการมาแล้วกว่า ๕๘ ปี ในระยะเริ่มต้นได้ใช้สถานที่หน่วยควบคุมคุดทะราด จังหวัดราชบุรี เป็นการชั่วคราว ใช้ชื่อเมื่อแรกก่อตั้งเป็น “ศูนย์ฝึกและอบรมอนามัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สังกัดกองการศึกษาและฝึกอบรม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อการก่อสร้างอาคารสถานที่ ณ จังหวัดขอนแก่น แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จึงได้ย้ายที่ทำการมายังสถานที่ในปัจจุบัน เลขที่ ๙๐/๑ ถนนอนามัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

 

พ.ศ.๒๕๐๖ เปิดการสอนหลักสูตร “พนักงานอนามัย”
พ.ศ.๒๕๐๙ ปรับปรุงหลักสูตร “พนักงานอนามัย” เป็นหลักสูตร “พนักงานอนามัยจัตวา”
พ.ศ.๒๕๑๗ เปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เป็น “ศูนย์ฝึกอบรมการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
พ.ศ.๒๕๒๑ เปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์ฝึกอบรมการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น” เป็น  “วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น” และเปิดอบรมหลักสูตร  “สาธารณสุขอำเภอ”
พ.ศ.๒๕๒๒ เปิดการสอนหลักสูตรทันตาภิบาล โดยตั้งโรงเรียนทันตาภิบาลขึ้นในวิทยาลัย และ เปิดอบรมหลักสูตร “ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ”
พ.ศ.๒๕๒๕ ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตร“เจ้าหน้าที่สาธารณสุข”เป็น “เจ้าพนักงานสาธารณสุข”
พ.ศ.๒๕๒๘ เปิดการสอนหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรม โดยตั้ง โรงเรียนเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ขึ้นในวิทยาลัยฯ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “ภาควิชาเภสัชกรรม”
พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นสถาบันร่วมผลิตกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเรียนการสอนหลักสูตร “สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง)” (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
พ.ศ.๒๕๒๙ เปิดอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารสาธารณสุขระดับกลาง” และ“หลักสูตรผู้บริหารสาธารณสุขระดับต้น”
พ.ศ.๒๕๓๑ เปิดอบรมหลักสูตร “หัวหน้าสถานีอนามัย” และปรับเปลี่ยนสายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็น “เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน”
พ.ศ.๒๕๓๒ เปิดสอนหลักสูตร “สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง)” ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
พ.ศ.๒๕๓๔ ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข
เป็น “หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์”
พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ใช้พระนามปัจจุบันสยามบรมราช-กุมารี  เป็นชื่อวิทยาลัยการสาธารณสุขทั่วประเทศและเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยฯ เป็น “วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น”
พ.ศ.๒๕๓๘ เปลี่ยนชื่อหลักสูตรทั้ง ๓  หลักสูตร เป็น หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์(สาธารณสุขชุมชน) หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)

 

พ.ศ.๒๕๓๙ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (กู้ชีพ) และเปิดอบรมหลักสูตร “สาธารณสุขศาสตร์ศึกษา”
พ.ศ.๒๕๔๐ เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง ๒ ปี) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ปัจจุบันยกเลิกแล้ว)
พ.ศ.๒๕๔๓ พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)” หลักสูตร “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)” หลักสูตร “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)”
มีวิชาแกนร่วมกัน
พ.ศ.๒๕๔๔ พัฒนาหลักสูตร “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (กู้ชีพ)” เป็นหลักสูตร“ประกาศนียบัตรเวชกิจฉุกเฉิน”
พ.ศ.๒๕๔๕ พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)” “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)”
“ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)” ฉบับบูรณาการ
พ.ศ.๒๕๔๙ พัฒนาหลักสูตร “ประกาศนียบัตรเวชกิจฉุกเฉิน” เป็นหลักสูตร “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชกิจฉุกเฉิน”
พ.ศ.๒๕๕๐ พัฒนาหลักสูตร “ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์”เป็นหลักสูตร “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)” “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)” “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)”
พ.ศ.๒๕๕๒ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี “สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข” สมทบกับ มหาวิทยาลัยบูรพา
พ.ศ.๒๕๕๔ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี “สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต” เป็นสถาบันสมทบ
กับมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน ๒ หลักสูตร ได้แก่ ๑) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ๒) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
พ.ศ.๒๕๕๖ ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ๒ หลักสูตร ๑) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
๒) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

 

พ.ศ.๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๖๓ จัดการศึกษา จำนวน ๔ หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรระดับปริญญาตรี
จำนวน ๒ หลักสูตร และหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๒ หลักสูตร หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข
สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยบูรพา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยบูรพาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ๔)  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จัดการศึกษา จำนวน ๕ หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรระดับปริญญาโท ๑ หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน ๒ หลักสูตร และหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๒ หลักสูตร  ประกอบด้วย ๑) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ๒) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ๓) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ๔) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม   ๕) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

พ.ศ. ๒๕๖๔   จัดการศึกษา จำนวน ๕ หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรระดับปริญญาโท ๑ หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน ๒ หลักสูตร และหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๒ หลักสูตร  ประกอบด้วย

๑) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

๒) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข

๓) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

๔) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
๕) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๖ สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์


ปณิธาน

 “วิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”

ปรัชญา

“จัดการศึกษาแบบบูรณาการ ผสานความรู้สู่ชุมชน พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ เพื่อให้การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”

คติพจน์

“ ทนฺโต  เสฏฺโฐมนุสฺเสสุ ” (ในหมู่มนุษย์ ผู้ประเสริฐสุด คือผู้ที่ฝึกแล้ว)

ค่านิยมร่วม (Core Value) : M O P H

M = Mastery เป็นนายตนเอง

O = Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่

P = People Centered Approach ใส่ใจประชาชน

H = Humility ถ่อมตน อ่อนน้อม

เอกลักษณ์สถาบัน

              “สร้างคนจากชุมชนเพื่อตอบสนองระบบสุขภาพชุมชน”

อัตลักษณ์บัณฑิต

              “บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”

วิสัยทัศน์ (Vision)

              “สถาบันการศึกษาชั้นนำ เพื่อสุขภาพชุมชนด้านสาธารณสุขระดับประเทศ”

พันธกิจ (Mission)

1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม และมีศักยภาพ ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2. วิจัย ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้ และนำความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ

3. พัฒนาบุคลากร บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยเน้นความร่วมมือกับชุมชน และบริการด้านการแพทย์และการบริการสาธารณสุข

4. ส่งเสริมและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้ทันสมัยภายใต้หลักธรรมาภิบาล

Scroll to Top